 |
E-BOOK นวัตกรรมการเรียนการสอน |
 |
แบบจำลองโครงสร้างทุติยภูมิของโปรตีนชนิดแผ่นพลีทบีตา ชนิดสายทบกลับและชนิดสายเชื่อมต่อ
| แบบจำลองโครงสร้างทุติยภูมิของโปรตีนชนิดแผ่นพลีทบีตา ชนิดสายทบกลับและชนิดสายเชื่อมต่อ
Model of a Secondary Structure of Protein: The Beta Pleated Sheet, Reverse Turn and Crossover Connection)
|

| 
แบบจำลองโครงสร้างโปรตีนแบบ แผ่นพลีทบีตาแสดงให้เห็นการเรียงตัวขนานกันของสายโพลีเปปไทด์ที่อยู่เคียงข้างกัน ซึ่งอาจมี ทิศทางสวนทางกัน (antiparallel) หรือมี ทิศทางเดียวกัน (parallel) โดยมีพันธะไฮโดรเจนระหว่างกลุ่ม CO และกลุ่ม NH ของพันธะเปปไทด์เชื่อมต่อสายโพลีเปปไทด์ที่อยู่เคียงคู่กันนั้นแขนงข้าง (side chain: R) ของกรดอะมิโน (สีเขียว) จะชี้ออกสู่ด้านล่างและด้านบนของสายโพลีเปปไทด์แล้วแต่กรณี
| 
สายโพลีเปปไทด์สองสายที่วิ่งสวนทางกันในโครงสร้างแบบแผ่นพลีทบีตาเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า สายทบกลับ (reverse turn) โดยที่จำนวนอะตอมคาร์บอน (สีดำ) และไนโตรเจน (สีน้ำเงิน) ในช่วงทบกลับ รวมกับสองอะตอมของไฮโดรเจน (สีขาว) และออกซิเจน (สีแดง) ที่ทำพันธะไฮโดรเจน 1 พันธะ มีจำนวน 10 อะตอม
สายโพลีเปปไทด์สองสายที่วิ่งไปทางเดียวกันในโครงสร้างแบบแผ่นพลีทบีตาเชื่อมต่อกันด้วย สายเชื่อมต่อ ที่เรียก crossover ซึ่งไม่ได้อยู่ในแนวระนาบเดียวกับแผ่นพลีทบีตา
| แผ่นพลีทบีตาที่เกิดจากโพลีเปปไทด์สองสาย หรือมากกว่าในโปรตีนทั่วไปที่ไม่เป็นเส้นใยมักจะไม่อยู่ในระนาบเดียวกัน ดังแผ่นพลีทที่ค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างที่ปรากฏในใยไหม หรือใยแมงมุม แต่จะบิดเล็กน้อยไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา |
|
โพสเมื่อ :
16 พ.ย. 2555,20:47
อ่าน 1703 ครั้ง
|