ข่าวประชาสัมพันธ์
ทศวรรษแห่งการอ่าน ปี 2552-2561

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล
ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
25 มกราคม 2553

“เริ่มต้นอ่านวันนี้ ให้เป็นนิสัยประจำชาติ”

1.สถานการณ์การอ่านในประเทศไทย

  • ปี 2551 คนไทยอ่านหนังสือลดลงเฉลี่ย 66.3%จากปี2548 ซึ่งคนไทยอ่านหนังสือ 69.1%
  • ปี 2551 คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 39 นาทีต่อวัน ลดลงจากปี 2548ซึ่งคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย คนละ 46 นาทีต่อวัน
  • อัตราการซื้อหนังสือของคนไทย 2 เล่ม/คน/ปี หรือร้อยละ0.22 ของรายได้ต่อหัว(ปี2550)
  • อัตราการอ่านหนังสือของคนไทยเฉลี่ย 5 เล่ม/คน/ปี
  • หนังสือที่ขายดีที่สุดในตลาด ได้แก่ หนังสือดารา นิยาย เรื่องย่อละครTV กีฬา สุขภาพ คู่มือต่าง ๆ

2.แนวทางส่งเสริมการอ่าน

คณะรัฐมนตรี มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่5สิงหาคม2552ดังนี้

1.กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ
2. กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็น วันรักการอ่าน
3. กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน
4.กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เป็นรูปธรรม

3.เป้าหมาย

1. ประชากรวัยแรงงานที่เป็นผู้รู้หนังสือในระดับใช้งานได้ในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ97.21 เป็น 99.2
2. ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สามารถอ่านออกเขียนได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ92.64 เป็น 95.3
3. ค่าเฉลี่ยการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากปีละ 5 เล่ม/คน เป็นปีละ 10 เล่ม/คน
4. แหล่งการอ่านได้รับการพัฒนาและเพิ่มจำนวนให้สามารถจัดบริการได้ครอบคลุมทุกตำบล/ชุมชน อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
5. การสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

4.คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านประกอบด้วย

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการ
2. กรรมการ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่าน การจัดทำและผลิตหนังสือ นักเขียน ราชบัณฑิตผู้แทนหน่วยงานสังกัด ศธ. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 67 ราย
3. ฝ่ายเลขานุการ สำนักงาน กศน. โดย รมว.ศธ.ได้ลงนามแต่งตั้ง สำนักงานโครงการส่งเสริมการอ่าน สังกัดสำนักงาน กศน.จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่20พฤศจิกายน2552โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

1.เสนอนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการส่งเสริมการอ่านต่อคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.เสนอแนะแนวทางวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
3.ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานส่งเสริมการอ่าน
4.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่าน
5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนงานส่งเสริมการอ่าน
6.เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการอ่าน

การส่งเสริมการอ่านได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานไว้ดังนี้

1. พัฒนาให้คนไทยให้มีความสามารถในด้านการอ่าน โดยรณรงค์การอ่านเขียนภาษาไทย ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย และสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาความสามารถในด้านการอ่าน
2.พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่านโดยสร้างทัศนคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่านหนังสือและสื่อทุกรูปแบบ กำหนดมาตรการจูงใจให้ภาคีเครือข่ายร่วมส่งเสริมการอ่านในสังคมไทย
3. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านโดยแสวงหาภาคีเครือข่าย รวมถึงพัฒนาและเพิ่มจำนวนแหล่งการเรียนรู้ให้สามารถครอบคลุมทุกชุมชน อย่างทั่วถึง มีคุณภาพเพื่อทำให้การอ่านเป็นที่สนใจมากขึ้น

6.แผนงานส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

แผนงานที่1รณรงค์ส่งเสริมการอ่าน

      เพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชน เห็นความสำคัญของการอ่าน เกิดนิสัยรักการอ่านมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอ่าน

แผนงานที่2เพิ่มสมรรถนะการอ่าน

      เพื่อที่จะพัฒนาทักษะการอ่านของเยาวชนไทย ให้อ่านออกเขียนได้เพื่อการเรียนภาษาไทยให้สัมฤทธิ์ผล รวมถึงการพัฒนาการอ่านของพ่อแม่ ซึ่งจะส่งผลต่อลูก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นออกมาเป็นสื่อประเภทต่าง ๆ ด้วย

แผนงานที่3สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการอ่าน

       เพื่อพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนและส่งเสริมการอ่านของประชาชนไทย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้การอ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิคส์ หลักสูตรการเรียนการสอนด้านการอ่าน รวมไปถึงการพัฒนาครูและบรรณารักษ์ ให้เป็นนักส่งเสริมการอ่าน

แผนงานที่4เครือข่ายความร่วมมือการอ่าน

       เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพ และขยายภาคีเครือข่ายการทำงานด้านการส่งเสริมการอ่าน เพื่อนำไปสู่การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการอ่านที่ดีขึ้น

แผนงานที่5แผนงานวิจัยและพัฒนาการอ่าน

       เพื่อศึกษา วิจัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของประเทศไทย และนานาชาติ โดยผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้จะนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาเทคนิควิธีการส่งเสริมการอ่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการอ่านของประชากรไทยต่อไป

เอกสารอ้างอิง:สำนักงานโครงการส่งเสริมการอ่าน,สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.2552 – 2561ทศวรรษแห่งการอ่าน.2552.

โพสเมื่อ : 17 พ.ย. 2555,08:10   อ่าน 2279 ครั้ง